16.3.50

วนิลลา - อัลกอฮอล์

วนิลลาที่มักใช้ในไอศครีมและเบเกอรี่ทั้งหลายนั้นเป็นสารสกัดจากพืช(เมล็ดวนิลลา) แต่การสกัดออกมาต้องใช้อัลกอฮอล์ วนิลลาเหลวที่สกัดออกมาแล้วจะมีอัลกอฮอล์ 35% (เบียร์มี 4-6%, ไวน์ 14-21%) ซึ่งเมื่อนำมาใช้ในเบเกอรี่อัลกอฮอล์จะระเหยไป แต่จากการศึกษาพบว่าอัลกอฮอล์ไม่ได้ระเหยออกไปทั้งหมดยังคงมีตกค้างอยู่ ควรมีการตรวจสอบปริมาณอัลกอฮอล์ที่เหลืออยู่ในอาหาร (ดูทัศนะของอิสลามต่ออัลกอฮอล์ในอาหารตอนท้ายของบทความนี้) แต่ก็มีวนิลลาอีกชนิดหนึ่งที่ปราศจากอัลกอฮอล์คือ วนิลลาผง ซึ่งผลิตโดยทำให้เมล็ดวนิลลาแตกแล้วละลายในอัลกอฮอล์ จากนั้นจึงทำให้บริสุทธิ์ ซึ่งในขั้นตอนนี้อัลกอฮอล์จะระเหยออกไปหมด

ผลิตภัณฑ์วนิลลา

1. vanilla extract หมายถึง วนิลลาที่สกัดด้วยอัลกอฮอล์หรืออัลกอฮอล์ทีใส่วนิลลา -> มีอัลกอฮอล์
2. vanilla extract, natural flavor, artificial flavor -> อาจจะมีอัลกอฮอล์
3. วนิลลาผง (vanilla/vanillin powder) -> ไม่มีอัลกอฮอล์
4. pure vanilla bean (เป็นผง) เช่นยี่ห้อ McCormick (ของอเมริกา) -> ไม่มีอัลกอฮอล์

(ส่วนนี้เรียบเรียงจาก toronto, ifanca, canadianhalalfood)

ทัศนะของอิสลามต่ออัลกอฮอล์ในอาหารนั้น มี 2 ทัศนะ (เท่าที่ทราบและสามารถค้นได้)

1. นักวิชาการศาสนาบางท่านเห็นว่าอาหารที่ประกอบด้วยกลิ่นผสมอัลกอฮอล์หรือมีอัลกอฮอล์เป็นตัวทำละลายนั้นไม่หะล้าล เช่น ดร.อับดุลลอฮฺ อัลฟะกีหฺ,
MCG Ulama, เชคอะหมัด Kutty (a senior lecturer and Islamic scholar at the Islamic Institute of Toronto,Ontario, Canada) มีความเห็นว่า การจะใช้วนิลลาให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่าปราศจากอัลกอฮอล์โดยดูที่ฉลาก ถ้าระบุว่ามีอัลกอฮอล์ก็หะรอม แต่ถ้าไม่ได้ระบุก็ให้สอบถามกับผู้ผลิต

2. มีความเห็นว่าหะล้าลถ้าใช้เพียงเล็กน้อย ไม่ได้ทำให้มึนเมา เช่น EU council of fatwa and research, Fiqh Council of North America, IFANCA ซึ่งมีรายละเอียดลงไปว่า ถ้ามีอััลกอฮอล์น้อยกว่า 0.1% ในผลิตภัณฑ์อาหาร หรือ อัลกอฮอล์น้อยกว่า 0.5% ในส่วนผสม (เช่น ในวนิลลาสกัด) เป็นระดับที่ต่ำมากไม่มี รส กลิ่น หรือลักษณะของอัลกอฮอล์ ถือว่าหะล้าล, และ เชคมุฮัมมัด อัลมุคตาร อัชชังกีฏียฺ (director of the Islamic Center of South Plains, Lubbock, Texas) เห็นว่า อัลกอฮอล์ในอาหารไม่ถึง 0.5% นั้นไม่ทำให้มึนเมา ถือว่าหะล้าล(อนุญาตให้ใช้ได้)



ทัศนะใดมีน้ำหนักมากกว่า ? แนะนำให้ถามผู้รู้ที่ท่านนับถือและสามารถวิเคราะห์เรื่องเหล่านี้ได้ แต่ถ้าไม่รู้อย่าชี้ เดี๋ยวจะยุ่งกันไปใหญ่ วัลลอฮุอะอฺลัม

2 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ปริมาณอัลกอฮอล์ที่เหลือจากการระเหยนี่ มันมากพอที่จะทำให้เมาได้หรือ คือเท่าที่ทราบ กุรอานห้ามสิ่งที่ทำให้เมา หรือเสียสติ แต่ไม่ได้ห้าม อ้ลกอฮอล์ ไม่ใช่หรือ ประเด็นมันคือว่า น้อยแค่ไหน ที่ฮารอมมากกว่า
เอาเป็นส่วนในล้านส่วนก็ได้ถ้าต้องการให้น้อย มากๆ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

โดยตัวแอลกอฮอล์กับเหล้า เบียร์ หรือสิ่งมึนเมาทั้งหลาย ...การพิจารณาต้องคำนึงถึงเจตนารมณ์ด้วย ถ้าเจตนาทำให้มึนเมา มันจะฮารอม ถ้าเป็นตัวทำละลาย ไม่น่าจะเกี่ยวนะคะ...เพราะถ้าตัวเอทานอลหรือแอลกอฮอล์ ฮารอมเราก็คงทานแป้งข้าวหมาก หรือผลไม้ต่างๆ ไม่ได้ จริงไหมคะ...
ในทางตรงกันข้าม ถ้าคุณทำอาหาร เช่น คุณหมักไก่กับเหล้า แล้วคุณเอาไปทอด เมื่อคุณไปตรวจแอลกอฮอล์มันก็ไม่พบอีกแล้ว..แต่ถึงไม่พบ มันก็ฮารอม เพราะมันผ่านการหมักเหล้า...เห็นไหมคะ..ว่ามันมีหลักคิิดซ่อนอยู่...น่าสนใจมากนะคะ