วัตถุเจือปนอาหาร หมายถึง “วัตถุที่ตามปกติมิได้ใช้เป็นอาหารหรือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาหาร ไม่ว่าวัตถุนั้นจะมีคุณค่าทางอาหารหรือไม่ก็ตามแต่ใช้เจือปนในอาหารเพื่อประโยชน์ในทางเทคโนโลยีในการผลิต การบรรจุ การเก็บรักษา หรือการขนส่งซึ่งมีผลต่อคุณภาพหรือมาตรฐานหรือลักษณะของอาหาร และให้หมายความรวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร แต่ใช้รวมอยู่กับอาหารเพื่อประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นด้วย” (ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 84 (พ.ศ. 2527) และประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 119 (พ.ศ. 2532))
ส่วน E-number คือรหัสของวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) ซึ่งกำหนดโดยสหภาพยุโรป(EU) ใช้ในประเทศสมาชิกยุโรป รวมทั้ง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอีกหลายประเทศทั่วโลก โดยใช้ตัว E ตามด้วยรหัสตัวเลขดังนี้
ี้
วัตถุเจือปนอาหารเหล่านี้ผลิตจากสัตว์, พืช, จุลินทรีย์, หรือสารเคมี ทำให้เกิดข้อสงสัยในหมู่มุสลิมว่าสิ่งเหล่านี้จะรับประทานได้หรือไม่ ซึ่งนักวิชาการอิสลามก็มีทัศนะที่แตกต่างกัน
- กลุ่มหนึ่งเห็นว่าส่วนผสมเหล่านี้ได้เปลี่ยนสภาพไปแล้ว(อิสติฮาละฮฺ เทียบเคียงกับกรณีของน้ำผลไม้ที่หมักจนเกิดอัลกอฮอล์และกลายเป็นน้ำส้มสายชูซึ่งหะล้าล, และกรณีมูลสัตว์ที่เผาจนเป็นขี้เถ้าแล้วไม่ถือเป็นนะญิส) จึงอนุญาตให้รับประทานได้ (จาก เชคอะหมัด มุคตาร อัชชังกิฏียฺ , European Council for Fatwa and Research, ดร.ญะอฺฟัร อัลกอดิรียฺ และเชคอัลบานียฺเคยกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ด้วย)
- และอีกกลุ่มหนึ่งเห็นว่าต้องพิจารณาให้ละเอียดว่าวัตถุเจือปนอาหารเหล่านี้มีที่มาจากอะไร หะล้าลหรือไม่ แม้ว่ามันจะเปลี่ยนสภาพไปแล้วก็ตาม แต่ถ้าหากที่มาของมันหะรอม (เช่น เนื้อหรือไขมันสุกร, สัตว์ที่ไม่ได้เชือดตามหลักการอิสลาม ฯลฯ) วัตถุเจือปนอาหารเหล่านั้นก็หะรอมด้วย ซึ่งนักวิชาการอิสลามที่เห็นด้วยกับทัศนะนี้มีหลายท่าน เช่น เชคมุฮัมมัดซอลิหฺ อัลมุนัจญิด , เชคมุฮัมมัด อิกบาล อัลนัดวียฺ เป็นต้น ซึ่งจะนำรายละเอียดมากล่าวต่อไป อินชาอัลลอฮฺ
สำหรับรายการวัตถุเจือปนรหัส E และสถานะของมัน (หะล้าล หะรอม มุชตะบิฮาต) นั้นมีเผยแพร่ในหลายเว็บไซต์สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ ดังนี้
http://www.muslimconsumergroup.com
http://www.eathalal.org/e_numbers.htm
http://www.fianz.co.nz/ >>> halal manual >>> Food Additive IFANCA List
http://special.worldofislam.info/Food/numbers.html
เรียบเรียงจาก (1) (2) (3) (4) (5)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น