- ไม่ใช้สารหรือวัสดุที่ได้จากการสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยวิทยาศาสตร์, สารเคมีกําจัดวัชพืชและปราบศัตรูพืชชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
- มุ่งเน้นการใช้วัสดุหรือปัจจัยการผลิตต่างๆภายในฟาร์มและจํากัดการใช้ปัจจัยการผลิต
ภายนอก - ทําการอนุรักษ์ดินและแหล่งน้ำโดยวิธีการที่ยั่งยืน
- มุ่งเน้นการดูแลใส่ใจในด้านสวัสดิภาพของสัตว
- มุ่งเน้นการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่และอนุรักษ์ทรัพยากรที่ไม๋สามารถนํากลับมา
หมุนเวียนใช้ใหม่ได้ - ไม่ใช้พันธุ์ที่ได้รับการดัดแปลงทางพันธุกรรม(GMO)
- คํานึงถึงผลกระทบจากการทําการเกษตรที่มีผลต่อสังคมและระบบนิเวศน์บริเวณแปลงปลูก
มาตรฐานในระดับสากลที่สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (The International Federation of Organic Agriculture Movement = IFOAM) กำหนดไว้มีข้อห้ามที่ต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดทุกขั้นตอนการผลิตจากผู้ปลูกจนถึงผู้บริโภค ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบกรรมวิธีการผลิต, การบรรจุภัณฑ์, การแสดงฉลาก และรับรองความปลอดภัยตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้ตลอดสายการผลิตทั้งระบบ
ผลผลิตเกษตรอินทรีย์ของไทยที่ได้รับการรับรองแล้วมีหลายชนิด เช่น ข้าวหอมมะลิ ข้าวมะลิแดง ข้าวกล้อง ถั่วเหลือง กาแฟ ผักและผลไม้สด (เช่น ข้าวโพดผักอ่อน, หน่อไม้ฝรั่ง) ธัญพืช, ผลไม้ (กล้วย สับปะรด มะละกอ มะม่วง), สมุนไพร (ฟ้าทะลายโจร, ยอ), เครื่องดื่ม (ชา น้ำผึ้งป่า มะตูม), เครื่องปรุงอาหาร (กะทิ, น้ำตาลทราย, น้ำมันปาล์ม) ฯลฯ
ที่มา
2 .โครงการเกษตรอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตรและสถาบันอาหารและเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย
3. เกษตรอินทรีย์ไทย เกษตรอินทรีย์โลก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น