16.4.50

อิสติฮาละฮฺ...ทัศนะแตกต่างที่ต้องทำความเข้าใจ

อิสติฮาละฮฺ (1) คือ "การเปลี่ยนสภาพธรรมของนะญิสหรือสิ่งหะรอมไปเป็นสสารใหม่ที่มี ชื่อ, คุณสมบัติ, ลักษณะ แตกต่างจากเดิม" ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้อาจเกิดจากปฏิกิริยาเคมี, การเผา หรือการปรุงอาหาร เช่น การเปลี่ยนสภาพของน้ำมันหรือไขมันไปเป็นสบู่, การสลายตัวของไขมันไปเป็น กรดไขมันและกลีเซอรอล เป็นต้น

ท่านอิบนิฮัซมฺ อัดดะหฺรียฺ กล่าวไว้ว่า "ถ้าสิ่งที่เป็นนะญิสหรือสิ่งต้องห้าม(หะรอม) ได้เปลี่ยนสภาพอย่างสมบูรณ์ กลายเป็นสสารใหม่ที่ไม่ได้มีคุณสมบัติหรือชื่อเดิมอีกต่อไป,
ดังนั้นหุกุ่มที่ว่า นะญิส หรือ หะรอม จึงไม่สามารถนำมาใช้กับสสารใหม่นี้ได้ เพราะเป็นคนละสิ่งกัน" และ "มูลสัตว์ที่ถูกเผาจนกลายเป็นเถ้าแล้วถือว่าบริสุทธิ์สามารถใช้ตะยัมมุมได้"


อิสติฮฺฺลาก (2) หมายถึง การผสมของสิ่งหะรอมหรือนะญิสปริมาณเล็กน้อย กับส่วนผสมที่หะล้าลและสะอาด ทำให้สภาพที่เป็นนะญิสหรือหะรอมของสาร(ปริมาณน้อย)นั้นถูกลบล้างไป

เรื่องนี้ท่านชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮฺได้กล่าวไว้ว่า "สิ่งที่เป็นนะญิสที่อัลลอฮฺทรงห้ามไว้ เช่น ซากเน่า, เลือด, เนื้อหมู ถ้ามันหยดลงในน้ำหรือของเหลวแล้วมีการผสมกันอย่างสมบูรณ์โดยสิ่งนะญิสนั้นกระจายไปทั่ว มันก็ไม่ถือว่าเป็นซากเน่า, เลือด หรือเนื้อหมูอีกต่อไป (หมายถึง ของผสมใหม่นี้ไม่เป็นที่ต้องห้าม) และถ้าอัลกอฮอล์ละลายลงในของเหลวและมันระเหยไปหมด ใครที่ดื่มของเหลวนั้นก็ไม่ใช่ผู้ดื่มอัลกอฮอล์"


ตัวอย่าง
นมแม่ถ้าผสมกับอาหารชนิดอื่นและให้เด็กอื่น(ที่ไม่ใช่ลูกตนเอง)รับประทาน ไม่ถือว่าเป็นสาเหตุที่จะทำให้สถานะของสตรีคนนี้เป็นแม่นม อันที่จะก่อสถานะลูกนมให้แก่เด็กที่ทานนมจากสตรีคนี้

บรรดาศ่อฮาบะฮฺได้เคยดื่มน้ำผลไม้ จนกว่ามันจะมีสัญญาณที่บอกว่าเกิดการหมักจึงเลิกดื่มมัน คือ เมื่อมีกลิ่นหรือรสที่บ่งบอกว่าน้ำผลไม้นั้นได้กลายเป็นไวน์แล้ว" ในทะเลทรายนั้นอาหารร้อนกระบวนการหมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อัลกอฮอล์ที่เกิดขึ้นเล็กน้อย(ไม่มีผลต่อกลิ่นรส)บรรดาศ่อฮาบะฮฺไม่ได้ให้ความสนใจ (คือถ้าไม่มีกลิ่นรสของอัลกอฮอล์ก็ดื่มได้)

ี้
The Islamic Organisation for Medical Sciences (IOMS) ได้นำสองกฎข้างต้นมาใช้ โดยอิสติฮฺลากนั้นมีเงื่อนไขว่า คุณสมบัติของของผสมหลัก(รส,สี,กลิ่น)นั้นต้องเหนือกว่าส่วนผสมปริมาณน้อย(ที่เป็นนะญิสหรือหะรอม) และได้ผสมกันอย่างสมบูรณ์ เช่น การใช้วัตถุเจือปนอาหาร (food additives) หรือยาที่มีส่วนประกอบของอัลกอฮอล์เล็กน้อย เช่น สีผสมอาหาร, วัตถุกันเสีย, อีมัลซิไฟเออร์ ฯลฯ และจากการประชุมในเรื่องนี้ได้ข้อสรุปดังนี้


1-
เจลาตินที่ผลิตจากกระดูก,ผิว,เอ็น ของสัตว์ที่ไม่สะอาดนั้น ถือว่าสะอาดและอนุญาตให้บริโภค (เรื่องนี้มีข้อโต้แย้งจากนักวิชาการอีกทัศนะหนึ่งว่า เจลาตินไม่ได้อยู่ในกฎของอิสติฮาละฮฺ)
2-
ไขมันหมูหรือไขมันสัตว์ตายที่ใช้ทำสบู่ มันได้เปลี่ยนสภาพไปเป็นสารประกอบที่สะอาด จึงอนุญาตให้ใช้สบู่นั้นได้
3-
เนยแข็ง ที่ใช้เอนไซม์เรนเน็ทจากสัตว์ตายนั้นอนุญาตให้รับประทานได้
4-
ยาขี้ผึ้ง,ครีม,เครื่องสำอาง ที่มีส่วนประกอบของไขมันหมูนั้นไม่สะอาด ไม่อนุญาตให้ใช้ตามหลักชรีอะฮฺ นอกจากจะแน่ใจว่าไขมันหมูนั้นได้เปลี่ยนสภาพไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว(transformation)
5-
อาหารที่มีไขมันหมูที่ไม่ได้เสียสภาพธรรมชาติ เช่น เนยแข็งบางชนิด, น้ำมันประกอบอาหาร, น้ำมันทาผิว, เนย, ครีม, บิสกิต, ช็อคโกแลต, ไอศกรีม เป็นที่ต้องห้ามด้วยมติเอกฉันท์ในความไม่สะอาดของหมูและเป็นที่ต้องห้ามในการรับประทาน
6-
สารสกัดจากสัตว์หะรอมหรือนะญิส (เช่น เลือด, ของเสีย) ที่ไม่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางเคมีตามกฎเกณฑ์ข้างต้น ไม่อนุญาตให้ใช้บริโภคหรือเป็นยา ซึ่งรวมทั้งผลิตภัณฑ์อาหารที่มีเลือด(ถึงแม้จะมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเลือดแล้วก็ตาม) เช่น ไส้กรอกเลือด, แฮมเบอร์เกอร์, อาหารเด็ก, เพสตรี้, พาย, ซุป,
สารทดแทนไข่ขาวที่มักใช้ในเบเกอรี่,ผลิตภัณฑ์นม, ยา ฯลฯ

เชคญะอฺฟัร อัลกอดิรียฺ ได้กล่าวไว้ในเรื่องนี้ว่า "มุสลิมควรละเว้นการออกความเห็นส่วนตัวในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชรีอะฮฺ จนกว่าจะได้ศึกษาหรือมีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ"

เรื่องนี้เป็นทัศนะที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับที่เคยเสนอไปในหลายๆบทความ (คือทัศนะที่ให้พิจารณาที่มาของสสารนั้นเป็นสำคัญ ถ้าที่มาหะรอม ไม่ว่าจะผ่านกระบวนการใดๆ สสารนั้นก็หะรอมด้วย) ทำให้เกิดการวินิจฉัยแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น



คำแนะนำ - ปรึกษาผู้รู้ที่เชื่อถือได้ว่าจะยึดทัศนะใดดี

เรียบเรียงจาก
1. halal food, islaminireland
2. Change of state
3. IslamicAwakening.Com: Pepsi Cola - Halaal or Haraam?
4. อิสติฮฺลากุลอัยนิลมุนฆอมิเราะฮ
5. 8th Fiqh-Medical Seminar
6. 9th Fiqh-Medical Seminar
7. Dieting the Islamic Way
, รายละเอียดเยอะมาก ศึกษาเพิ่มเติมได้

--------------

(1) istihala, transformation, change of state,استحالة

(2) istihlak, assimilation, consumption, استهلاك

4 ความคิดเห็น:

umm2jeem กล่าวว่า...

ขอเอาบทความไปลงเวบบ้านฯ นะคะ
สองเรื่องส่วนผสมที่หะรอมในอาหาร(ฟัตวา)และอันนี้ และอาจจะทยอยมาแอบเอาไปลงเรื่อยๆ

สงสัย อย่างผลิตภัณฑ์บางอย่าง เช่น ยานวด ยาทา เราจะรู้ได้อย่างไรว่ามันหะรอมหรือไม่ ดูที่ส่วนประกอบหรอคะ อืม..มันเป็นศัพท์เฉพาะทั้งนั้น ทำไงดีอ่ะคะ
ขอทางออก เพราะญาติผู้ใหญ่ที่บ้านใช้ประจำค่ะ

umm.muhammad กล่าวว่า...

บทความไม่สงวนลิขสิทธิ์ค่ะ

ส่วน ยานวด ยาทา ไม่ใช่อาหาร หุกุ่มก็แตกต่างไป ต้องถามนักวิชาการศาสนา ว่าจะนำ อิสติฮาละฮฺ ไปใช้ได้มั้ย เพราะเคยได้ยินนักวิชาการแนะนำว่าเรื่องนี้ น่าจะมีทัศนะที่เป็นแนวกลาง คือ สำหรับส่วนผสมในอาหารให้หุก่มตามที่มา (ที่มาหะรอมอาหารนั้นก็หะรอม) และใช้อิสติฮาละฮฺกับเครื่องสำอางหรือยา -- เป็นแค่ข้อเสนอ ยังไม่เจอนักวิชาที่ฟัตวาไว้แบบนี้

แต่ถ้าเรายึดเอาข้อสรุปจากการประชุมข้างต้นข้อ 4 ที่ว่า

4- ยาขี้ผึ้ง,ครีม,เครื่องสำอาง ที่มีส่วนประกอบของไขมันหมูนั้นไม่สะอาด ไม่อนุญาตให้ใช้ตามหลักชรีอะฮฺ นอกจากจะแน่ใจว่าไขมันหมูนั้นได้เปลี่ยนสภาพไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว(transformation)

ก็ต้องพิจารณาส่วนประกอบเป็นตัวๆไป ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างสมบูรณ์หรือไม่

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เชคริฎอ อธิบายเรื่องอิสติฮาละฮฺ และการพิจารณาอาหาร หะล้าล-หะรอม รวมทั้งเครื่องสำอางไว้

http://banatulhuda.blogspot.com/2009/02/blog-post_277.html

Dichan..ruslina กล่าวว่า...

อยากทราบว่าไส้กรอบอีสารปกติที่เค้าขายตามถนนกินได้ไม้ค่ะรวมทั้งแหนมด้วย