งานวิจัยนี้ได้ศึกษาถึงความสัมพันธ์ของสีผสมอาหารและวัตถุกันเสียกับการเปลี่ยนแปลงอารมณ์และพฤติกรรมของเด็ก โดยได้วิจัยกลุ่มเด็กอายุ 3 ปี จำนวน 227 คน โดยสองสัปดาห์แรกให้เด็กดื่มน้ำผลไม้ที่มีสีผสมอาหารสังเคราะห์ (E102, E110, E122, E124) 20 มิลลิกรัม และมีวัตถุกันเสีย(E211) 45 มิลลิกรัม และอีกสองสัปดาห์ให้ดื่มน้ำผลไม้ชนิดเดียวกันที่ไม่มีวัตถุเจือปนทั้งสองชนิด ผลจากการสังเกตุพฤติกรรมพบว่าในสองสัปดาห์แรกเด็กมีพฤติกรรม ชอบขัดจังหวะ, เล่นง่วนอยู่กับสิ่งของ, รบกวนผู้อื่น, หลับยาก, ก้าวร้าว วัตถุเจือปนอาหารที่ใช้ในงานวิจัยนี้คือ
สีผสมอาหารสังเคราะห์
- Tartrazine (E102, FDC Yellow # 5) - สีเหลือง - ใช้ในเครื่องดื่ม, ไอศครีม, คัสตาร์ด, เนยแข็ง น้ำสลัด, ผักกระป๋อง ฯลฯ เครื่องสำอางค์และยา นอกจากนี้ยังอาจก่อให้เกิดอาการแพ้หรือหอบหืดและอาจเป็นสารก่อมะเร็ง
- Sunset Yellow (E110, FDC Yellow # 6) สีเหลือง
- Carmoisine (E122, FDC red # 3) สีแดง
- Ponceau 4R (E124, FDC red # 7) สีแดง
- Sodium Benzoate (E211) - เค้ก, ธัญพืช, น้ำสลัด, มาการีน, ทอฟฟี่, มาการีน และในอาหารอีกหลายชนิด อาจเป็นสารก่อมะเร็ง
---------------
(1) ไฮเปอร์แอคทีฟ (โรคสมาธิสั้น) คือ กลุ่มอาการที่เกิดในวัยเด็ก ก่อนอายุ 7 ปี แล้วก่อให้เกิดผลกระทบต่อพฤติกรรม, อารมณ์, การเรียนรู้ และ การเข้าสังคมกับผู้อื่น อ่านเพิ่มเติมได้ที่ thaihealth
- เรียบเรียงจาก (1) (2) (3)
---------------
คำแนะนำ : ควรหลีกเลี่ยงอาหารหรือขนมสีเหลืองแดง รวมทั้งอาหารที่ใส่วัตถุกันเสียด้วย เพราะโซเดียมเบนโซเอตนี่บ้านเราใช้กันมาก ถ้ายังไงก็ควรรับประทานให้น้อยที่สุด แต่อุปสรรคที่สำคัญคือผลิตภัณฑ์อาหารบ้านเราเขียนส่วนผสมไม่ครบหรือไม่ให้รายละเอียด เขียนไว้ว่าใส่วัตถุกันเสีย แต่ไม่ได้บอกว่าตัวไหน และถ้าจะซื้อสีผสมอาหารใช้ก็ให้เลือกแบบผงหรือแบบที่ละลายในน้ำ และใส่ในอาหารให้น้อยที่สุด (แต่ถ้าจะใช้สีธรรมชาติแทนก็ดีกว่าแน่นอน) ...
...มีอีกเรื่อง...ระหว่างที่ค้นเรื่องนี้ ได้็พบบทความเกี่ยวกับข้อเสียของวัตถุเจือปนอาหารหลายๆตัว ซึ่งมันจะออกฤทธิ์เมื่อเราได้รับมากๆ ก็อยากจะแนะนำเพิ่มเติมว่า อย่าทานอาหารชนิดใดซ้ำๆ เป็นเวลานาน จะได้ไม่เกิดการสะสมของวัตถุเจือปนอาหารจนเกิดอันตรายกับร่างกาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น