24.8.50

โอวาเล็ต , เอสพี , อีซี 25 เค

โอวาเล็ต (OVALETT), เอสพี (SP), TBM และ อีซี 25 เค (EC25K) คือ สารอิมัลซิไฟเออร์ ที่ในปัจจุบันวงการอุตสาหกรรมเบเกอรี่ของบ้านเรา (และในหลายประเทศ) นิยมนำมาใช้กันอย่างมากในการผสมแบบขั้นตอนเดียว คือ เติมส่วนผสมทั้งหมดลงในอ่างผสมแล้วตีให้เข้ากัน ทำให้ประหยัดเวลา

โอวาเล็ต - นิยมใช้กับขนมอบ

อีซี 25 เค - เป็นอีมัลซีไฟเออร์ตัวหนึ่ง ช่วยในการเสริมคุณภาพที่ดีของเค้กที่มีไขมันเป็นส่วนผสมหลักทุกชนิด มีลักษณะเป็นครีมสีขาวออกเหลือง

เอส พี (ผงฟูแบบฟอสเฟต) - เป็นครีมใสสีน้ำตาลอ่อนเกือบขาว มีกลิ่นหอม นิยมใช้กับขนมประเภทนึ่ง) จะนิยมใช้ในขนมที่ขึ้นฟูด้วยไข่ เช่น สปอนจ์เค้ก (Sponge Cake) ปุยฝ้าย สาลี่ ฯลฯ


หะล้าล ?

อีซี 25 เค,TBM - มีส่วนผสมของ โมโนกลีเซอไรด์-ไดกลีเซอไรด์ ซึ่งได้จากกระบวนการแปรรูปไขมัน ต้องตรวจสอบว่าผลิตจากไขมันพืชหรือสัตว์


SP, Ovalet - มีส่วนผสมของโมโนกลีเซอไรด์และเอสเทอร์ของกรดไขมัน ซึ่งได้จากกระบวนการแปรรูปไขมัน ต้องตรวจสอบว่าผลิตจากไขมันพืชหรือสัตว์

ข้อมูลจากสภาอุละมาอฺอินโดนีเซีย (Majelis Ulama Indonesia - MUI) - อีมัลซิไฟเออร์สำหรับเค้ก(ขนมอบ) ได้แก่ Ovalet, SP, Spontan 88, TBM etc. นั้นชุบฮัต (น่าสงสัย) เพราะส่วนผสมของมันอาจมาจากพืชหรือสัตว์ก็ได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงสารเหล่านี้ ให้เลือกซื้อเฉพาะที่ได้รับการรับรองว่าหะล้าลเท่านั้น (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.halalmui.or.id/mui/search_prod/?nod=9&view=20 )

Emulpals 300 - เป็นอีมัลซิไฟเออร์สำหรับเค้กที่ผลิตจากพืช ได้รับการรับรองหะล้าลและโคเชอร์ ดูรายละเอียดได้ที่ foodnavigator


เรียบเรียงจาก

1. Butter Sponge Cake สปอนจ์เค้ก
2.
สารช่วยให้เนื้อสัมผัสของขนมอบดี
3. Bahan Pembuat Bakery dan Kue
4. Jenis Bahan Kue dan Kehalalannya

13.8.50

อาหารเกษตรอินทรีย์ [Organic Food]

คําว่า เกษตรอินทรีย์ หมายถึงระบบการผลิตทางเกษตรที่มีวิธีการปฏิบัติบนพื้นฐานหลักการดังต่อไปนี้
  • ไม่ใช้สารหรือวัสดุที่ได้จากการสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยวิทยาศาสตร์, สารเคมีกําจัดวัชพืชและปราบศัตรูพืชชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
  • มุ่งเน้นการใช้วัสดุหรือปัจจัยการผลิตต่างๆภายในฟาร์มและจํากัดการใช้ปัจจัยการผลิต
    ภายนอก
  • ทําการอนุรักษ์ดินและแหล่งน้ำโดยวิธีการที่ยั่งยืน
  • มุ่งเน้นการดูแลใส่ใจในด้านสวัสดิภาพของสัตว
  • มุ่งเน้นการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่และอนุรักษ์ทรัพยากรที่ไม๋สามารถนํากลับมา
    หมุนเวียนใช้ใหม่ได้
  • ไม่ใช้พันธุ์ที่ได้รับการดัดแปลงทางพันธุกรรม(GMO)
  • คํานึงถึงผลกระทบจากการทําการเกษตรที่มีผลต่อสังคมและระบบนิเวศน์บริเวณแปลงปลูก


มาตรฐานในระดับสากลที่สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (The International Federation of Organic Agriculture Movement = IFOAM) กำหนดไว้มีข้อห้ามที่ต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดทุกขั้นตอนการผลิตจากผู้ปลูกจนถึงผู้บริโภค ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบกรรมวิธีการผลิต, การบรรจุภัณฑ์, การแสดงฉลาก และรับรองความปลอดภัยตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้ตลอดสายการผลิตทั้งระบบ

ผลผลิตเกษตรอินทรีย์ของไทยที่ได้รับการรับรองแล้วมีหลายชนิด เช่น ข้าวหอมมะลิ ข้าวมะลิแดง ข้าวกล้อง ถั่วเหลือง กาแฟ ผักและผลไม้สด (เช่น ข้าวโพดผักอ่อน, หน่อไม้ฝรั่ง) ธัญพืช, ผลไม้ (กล้วย สับปะรด มะละกอ มะม่วง), สมุนไพร (ฟ้าทะลายโจร, ยอ), เครื่องดื่ม (ชา น้ำผึ้งป่า มะตูม), เครื่องปรุงอาหาร (กะทิ, น้ำตาลทราย, น้ำมันปาล์ม) ฯลฯ

ที่มา

1. ระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์

2 .โครงการเกษตรอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตรและสถาบันอาหารและเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย

3. เกษตรอินทรีย์ไทย เกษตรอินทรีย์โลก

7.8.50

ครีมออฟทาร์ทาร์


กรดทาทาริก (tartaric Acid E334) เป็นกรดที่พบในองุ่น ใช้ในเครื่องดื่มและเยลลี่กลิ่นองุ่นหรือมะนาว และยังใช้เป็นตัวปรับกรดในผงฟู


ครีมออฟทาร์ทาร์ (cream of tartar, potassium tartrates E336) เป็นเกลือโพแทสเซียมของกรดทาทาริก ใช้ในการทำขนมอบ (เช่น เค้ก ขนมปัง) เป็นสารช่วยให้ขึ้นฟูชนิดหนึ่ง ปกติจะเติมลงในไข่ขาวเพื่อทำให้ตีขึ้น คงตัว ไม่ยุบง่าย และทำให้เนื้อเค้กที่อบเสร็จมีสีขาวละเอียด





กรดทาทาริกหรือครีมออฟทาร์ทาร์ในอเมริกานั้นหะล้าล เพราะผลิตจากน้ำองุ่นที่ไม่ได้ผ่านการหมัก (ที่ขายอยู่ในบ้านเราส่วนมากเป็นของอเมริกา) แต่ในประเทศอื่นอย่างแอฟริกาใต้ กรดทาทาริกเป็นผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมไวน์ โดยมันจะเกาะติดอยู่ข้างถังหมักไวน์ ซึ่งในกรณีนี้ต้องให้นักวิชาการศาสนาพิจารณาว่ามันหะล้าลหรือไม่

Moslem Scholar Indonesia (MUI) เห็นว่าควรหลีกเลี่ยงที่จะใช้ครีมออฟทาร์ทาร์ที่ได้จากการหมักไวน์ แต่ใน halalguide แจ้งไว้ว่าหะรอม

เรียบเรียงจาก
Daftar Kode E dan Kehalalannya, Oleh Dr. Ir. Anton Apriyantono
ARE CREAM OF TARTAR (Potassium Tartrates E336) AND TARTARIC ACID (E334) HALAL?




6.8.50

มารยาทในการรับประทานอาหาร 2

ปริมาณอาหารที่รับประทาน

จากอัลมิกดาม บิน มะดีกะริบ เล่าว่า :

سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- يَقُولُ «مَا مَلأَ آدَمِىٌّ وِعَاءً شَرًّا مِنْ بَطْنٍ بِحَسْبِ ابْنِ آدَمَ أُكُلاَتٌ يُقِمْنَ صُلْبَهُ فَإِنْ كَانَ لاَ مَحَالَةَ فَثُلُثٌ لِطَعَامِهِ وَثُلُثٌ لِشَرَابِهِ وَثُلُثٌ لِنَفَسِهِ ».


ความว่า : ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า : “มนุษย์ไม่เคยบรรจุลงในภาชนะอันใดที่เลวยิ่งกว่า(การบรรจุลงใน)ท้อง เพียงพอแล้วสำหรับลูกหลานอาดัมด้วยอาหารเพียงไม่กี่คำที่สามารถจะยกหลังของเขา (หมายถึงสามารถประทังชีวิตและสร้างความแข็งแรงแก่ร่างกาย - ผู้แปล) หรือหากจำเป็นจริง ๆ แล้ว ก็ (จงเตรียมท้องไว้สามส่วน) ส่วนหนึ่งสำหรับอาหาร ส่วนหนึ่งสำหรับเครื่องดื่ม และอีกส่วนหนึ่งสำหรับลมหายใจ” (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัลติรมีซีย์ ตามสำนวนนี้ หมายเลข 2380 เศาะฮีหฺสุนันอัลติรมิซีย์ หมายเลข 1939 และบันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 3349 เศาะฮีหฺสุนันอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 2704)



ไม่ตำหนิอาหาร

จากอบีฮุร็อยเราะฮฺ กล่าวว่า :

مَا عَابَ النَّبِىُّ - صلى الله عليه وسلم - طَعَامًا قَطُّ ، إِنِ اشْتَهَاهُ أَكَلَهُ ، وَإِنْ كَرِهَهُ تَرَكَهُ .

ความว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่เคยตำหนิอาหารเลย หากท่านชอบท่านก็จะทาน และหากท่านไม่ชอบ ท่านก็จะละจากมันเสีย (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ ตามสำนวนนี้ หมายเลข 5409 และมุสลิม หมายเลข 2064)

ไม่ทานมากจนเกินไป

มีรายงานจากอิบนุอุมัร ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

«الْكَافِرُ يَأْكُلُ فِى سَبْعَةِ أَمْعَاءٍ وَالْمُؤْمِنُ يَأْكُلُ فِى مِعًى وَاحِدٍ».

ความว่า : “คนกาเฟรเขาจะทาน (อาหาร) ในปริมาณเจ็ดกระเพาะ ส่วนคนมุอฺมินเขาจะทาน (อาหาร) ในปริมาณเพียงกระเพาะเดียว” (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 5393 และมุสลิม ตามสำนวนนี้ หมายเลข 2060)

จากหนังสือ “มุคตะศ็อรฺ ฟิกฮิล อิสลามีย์” โดย เชค มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์ , แปลโดย สุกรี นูร จงรักสัตย์, http://www.islamhouse.com/p/6165



หรือเรากำลังบริโภคเนื้อหมูกัน(โดยไม่ตั้งใจ)

เกือบทุกประเทศในตะวันตกรวมถึงยุโรป เนื้อหมูเป็นทางเลือกลำดับแรกๆในการบริโภค มีฟาร์มเลี้ยงหมูมากมายในหลายๆประเทศ เฉพาะในประเทศฝรั่งเศสก็มีมากกว่า 42,000 ฟาร์ม หมูเป็นสัตว์ที่มีปริมาณไขมันในร่างกายสูงที่สุดเมื่อเทียบกับสัตว์อื่นๆ แต่ชาวยุโรปและอเมริกันพยายามหลีกเลี่ยงไขมัน แล้วไขมันจากสุกรเหล่านี้จะมีที่ไปอย่างไร ? รายงานที่ติดตามมาของผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ได้เปิดเผยว่า ไขมันหมูอาจถูกบริโภคโดยมุสลิมทั่วโลกด้วยความไม่รู้

เพื่อนผม( Dr. M. Amjad Khan) คนหนึ่งชื่อ Shaikh Sahib ที่ทำงานในองค์การอาหาร ที่เมือง Pegal ของฝรั่งเศส งานของเขาคือการขึ้นทะเบียนทุกผลิตภัณฑ์, สินค้า, อาหารและยา เมื่อบริษัทใดต้องการวางสินค้าในตลาด นั่นหมายถึงสินค้านั้นต้องได้รับการยืนยันโดยองค์การนี้ เขา Shaikh Sahib ทำงานในห้องปฏิบัติการการควบคุมคุณภาพ เขาจึงรู้รายละเอียดและส่วนผสมในอาหารหรือสินค้า ซึ่งส่วนใหญ่แล้วส่วนประกอบเหล่านั้นจะมีชื่อเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ บ้างก็ชื่อในทางคณิตศาสตร์ เช่น E-904, E-141

ในช่วงแรกชัยคฺคนนี้พบเรื่องนี้เข้าโดยบังเอิญ เขาเกิดความรู้สึกแปลกและอยากรู้ เขาจึงถาม Department Incharge (ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส) แต่กลับได้รับคำตอบว่า “ทำงานของคุณไปเถอะ ไม่ต้องถามอะไรทั้งนั้น” แต่นั้นมันยิ่งเพิ่มความกังขาให้แก่ชัยคฺคนนี้ เขาจึงค้นหามันตามแฟ้มต่างๆ และสิ่งที่เขาพบก็พอที่จะสามารถทำให้มุสลิมทั่วโลกต้องประหลาดใจ

หมูทุกตัวจะถูกฆ่าในโรงฆ่าสัตว์ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานอาหาร ซึ่งหลังจากการผ่านขั้นตอนการฆ่าแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการจัดการไขมันหมูในโรงฆ่าสัตว์ซึ่งองค์การอาหารถือว่านั้นเป็นปัญหาหลัก โดยในอดีตที่ผ่านมาประมาณ 60 ปี พวกเขากำจัดมันโดยการเผา หลังจากนั้นก็ได้มีการเปลี่ยนมาใช้ระบบการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยช่วงแรกพวกเขาได้ทดลองใช้ไขมันเหล่านั้นทำสบู่ และมันก็ประสบความสำเร็จ จากนั้นจึงเกิดโครงข่ายอย่างสมบูรณ์ที่จะนำไขมันเหล่านี้ก็เข้าสู่กระบวนการทางเคมี,บรรจุหีบห่อ และวางขายในท้องตลาด ขณะที่ผู้ประกอบการหลายรายก็สนใจซื้อสินค้าเหล่านั้น

ในขณะเดียวกัน ทุกรัฐในยุโรปก็มีการตั้งเงื่อนไขข้อกำหนดที่ว่า อาหาร,ยา และ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดส่วนตัว ควรมีฉลากระบุส่วนประกอบ ดังนั้นไขมันหมูจึงเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ถูกระบุด้วยในช่วงนั้น(40 ปีที่ผ่านมา) แต่การระบุที่สินค้าว่ามีส่วนประกอบจากไขมันหมูเกิดนั้นทำให้ประเทศมุสลิมทั้งหลายออกมาแบนสินค้าเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดการขาดดุลการค้าแก่บริษัทต่างๆ

ย้อนกลับไปในอดีต ถ้าคุณค่อนข้างมีความเกี่ยวพันธ์กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คุณอาจพอทราบถึงปัจจัยกระตุ้นให้เกิด Civil War(สงครามทางวัฒนธรรม) ในปี 1857 ขณะนั้น ลูกกระสุนของปืนไรเฟิลถูกผลิตขึ้นในยุโรป และส่งมายังภูมิภาคนี้ผ่านทางทะเล ซึ่งการขนส่งใช้เวลานานเป็นเดือน ดินปืนจึงได้รับความเสียหายจากน้ำทะเล พวกเขาก็ได้เกิดความคิดในการเคลือบชั้นผิวหน้าของลูกกระสุนด้วยไขมันหมู โดยก่อนที่จะใช้ต้องมีการถูชั้นไขมันนั้นออกด้วยฟันก่อน เมื่อข่าวดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ทหารซึ่งส่วนใหญ่เป็นมุสลิมและมังสวิรัติก็เกิดการปฏิเสธที่จะต่อสู้ จึงส่งผลให้เกิด Civil War ขึ้น

เมื่อกลุ่มประเทศยุโรปรู้ดังนั้น จึงเปลี่ยนการระบุคำว่า “ไขมันหมู”เป็น “ไขมันสัตว์” ใครก็ตามที่อาศัยอยู่ในยุโรปตั้งแต่ ศตวรรษที่ 70’s จะทราบเรื่องนี้ดี และเมื่อเจ้าหน้าที่จากประเทศมุสลิมถามบริษัทต่างๆว่า ไขมันสัตว์ที่ว่านั้นหมายถึงอะไร? พวกเขาก็จะบอกว่า ไขมันวัว และไขมันแกะ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีคำถามเกิดขึ้นว่า ถึงจะเป็นไขมันวัว หรือ แกะจริง ก็ยังถือว่าต้องห้ามอยู่ดี เนื่องจากสัตว์เหล่านั้นไม่ได้ถูกเชือดตามหลักการอิสลาม ดังนั้นการแบนสินค้าจึงเกิดขึ้นอีกครั้ง

แต่ในปัจจุบัน พวกบริษัทข้ามชาติกำลังเผชิญปัญหาจากการสูญเสียรายได้ ถึง 75%ของรายได้จากการส่งสินค้าไปขายในประเทศมุสลิม ซึ่งนับเป็นเงินได้ถึงหลักพันล้านดอลล่าร์สหรัฐ สุดท้ายพวกเขาจึงตัดสินใจที่จะระบุเป็นรหัส ซึ่งจะให้องค์การอาหารเท่านั้นทราบว่ามันถูกทำมาจากอะไร แต่ผู้บริโภคทั่วไปไม่สามรถทราบได้เลย ดังนั้นเขาจึงเริ่มใช้ E-Codes

ส่วนประกอบลับที่ใช้รหัสว่า E ปรากฏอยู่ที่ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ของบริษัทที่มีสาขาในหลายๆประเทศ ไม่เว้นแม้กระทั่ง ยาสีฟัน ครีมโกนหนวด หมากฝรั่ง ช็อกโกแลต ลูกอม ขนมปังกรอบ แผ่นข้าวโพดอบกรอบ ทอฟฟี่ อาหารกระป๋อง ผลไม้กระป๋อง หรือผลิตภัณฑ์ยา เช่น วิตามินรวม เป็นต้น และเนื่องจากสินค้าเหล่านี้ถูกอุปโภคบริโภคในประเทศมุสลิมทุกประเทศ สังคมของเราจึงกำลังเผชิญกับปัญหาต่างๆ เช่น ความรู้สึกไร้ยางอาย หยาบคาย และ ความสำส่อนทางเพศ

ดังนั้น ผมจึงขอให้ทุกประเทศมุสลิมตรวจสอบส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในชีวิตประจำวันและจับคู่หรือหารหัส E-Codes ด้านล่างนี้ ถ้าพบว่ามีส่วนผสมของผลิตภัณฑ์มีอยู่ในรายการด้านล่างนี้ ก็ให้หลีกเลี่ยงเพราะมันอาจจะมีไขมันหมูเป็นส่วนประกอบ

E100( Curcumin/Turmeric, ขมิ้น) - หะล้าล - ถ้าเป็นขมิ้นล้วนๆ, ถ้าเป็นของเหลวต้องตรวจสอบว่าใช้อะไรเป็นตัวทำละลาย, หะรอม - ถ้ามีส่วนผสมของอีมัลซิไฟเออร์ที่ได้จากหมูหรือวัตถุกันเสีย polysorbate 80 (อ้างอิงจาก mcg)

E110( Sunset Yellow FCF / Orange Yellow S),
E120(
Cochineal / Carminic Acid), E 140(Chlorophyll ),
E141(
Copper Complex of Chlorophyll ), E153(Carbon Black / Vegetable Carbon (Charcoal) ),
E210(
Benzoic Acid ), E213(Calcium Benzoate ),
E214(
Ethyl 4-hydroxybenzoate ), E216(Propyl 4-hydroxybenzoate ),
E234(
Nisin ), E252(Potassium Nitrate(Saltpetre)),
E270(
Lactic Acid ), E280(Propionic Acid ),
E325(
Sodium Lactate ), E326(Potassium Lactate ),
E327(
Calcium Lactate ), E334(Tartaric Acid ),
E335(
Sodium Tartrates ), E336(Potassium Tartrates (Cream of Tartar) ),
E337(
Potassium Sodium Tartrates ), E422(Glycerol),
E430(
Polyoxyethane (8) Stearate ), E431(Polyoxyethane (40) Stearate ),
E432(
Polysorbate 20 ), E433(Polysorbate 80 ),
E434(
Polyoxyethane (20) Sorbitan Monopalmitate / Polysorbate 40 ), E435(Polysorbate 60 ),
E436(
Polysorbate 65 ), E440(Pectin/Amidated Pectin ),
E470(
Sodium, Potassium and Calcium Salts of Fatty Acids ), E471(Mono-and Diglycerides of Fatty Acids ),
E472(
Various Esters of Mono-and Diglycerides of Fatty Acids ), E473(Sucrose Esters of Fatty Acids ),
E474(
Sucroglycerides ), E475(Polyglycerol Esters of Fatty Acids ),
E476(
Polyglycerol Esters of Polycondensed Esters of Caster Oil ), E477,
E478(
Lactylated Fatty Acid Esters of Glycerol and Propane-1,2-Diol ), E481(Sodium Stearoyl-2-Lactylate ),
E482(
Calcium Stearoyl-2-Lactylate ), E483(Stearyl Tartrate ),
E491(
Sorbitan Monostearate ), E492(Sorbitan Monolaurate ),
E493(
Sorbitan Monolaurate ), E494(Sorbitan Mono-oleate ),
E495(
Sorbitan Monopalmitate ), E542(Edible Bone Phosphate (Bone-Meal)),
E570(
Stearic Acid ), E572(Magnesium Stearate ),
E631(
Sodium Inosinate ), E635(Sodium5-Ribonucleotide ),
E904(
Shellac ).


(ตัวที่ระบายสีเหลือง ในเว็บ MCG แจ้งไว้ว่าหะล้าลและในเว็บ eathalal
ก็ไม่มีในรายการสารที่ผลิตจากสัตว์)

มันเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคนที่จะต้องปฏิบัติตามวิถีแห่งอิสลาม และรักษาผู้คนรอบข้างด้วยการแจ้งให้ทราบทุกอย่างที่ต้องระวัง ขออัลลอฮฺทรงโปรดช่วยเหลือเราให้เรามีชีวิตที่หะล้าล ขออัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงปกป้องเราจากทุกสิ่งที่หะรอมเทอญ อามีน กรุณาส่งข้อความนี้แก่พี่น้องมุสลิมของคุณ และอย่างลืมอ่านส่วนผสมของอาหารและเครื่องดื่มก่อนจะซื้อหรือบริโภค

Source: Young Muslim Digest, March 2005

แปลโดย The Hijab forces the man to look at the woman as a present not an object.

--------------


วัตถุเจือปนอาหารเหล่านี้ผลิตจากสัตว์, พืช, จุลินทรีย์, หรือสารเคมี ทำให้เกิดข้อสงสัยในหมู่มุสลิมว่าสิ่งเหล่านี้จะรับประทานได้หรือไม่ ซึ่งนักวิชาการอิสลามก็มีทัศนะที่แตกต่างกัน

  • กลุ่มหนึ่งเห็นว่าส่วนผสมเหล่านี้ได้เปลี่ยนสภาพไปแล้ว(อิสติฮาละฮฺ เทียบเคียงกับกรณีของน้ำผลไม้ที่หมักจนเกิดอัลกอฮอล์และกลายเป็นน้ำส้มสายชู, และกรณีมูลสัตว์ที่เผาจนเป็นขี้เถ้าแล้วไม่ถือเป็นนะญิส) จึงอนุญาตให้รับประทานได้ (จาก เชคอะหมัด มุคตาร อัชชังกิฏียฺ , European Council for Fatwa and Research, และเชคอัลบานียฺเคยกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ด้วย)
  • และอีกกลุ่มหนึ่งเห็นว่าต้องพิจารณาให้ละเอียดว่าวัตถุเจือปนอาหารเหล่านี้มีที่มาจากอะไร หะล้าลหรือไม่ แม้ว่ามันจะเปลี่ยนสภาพไปแล้วก็ตาม แต่ถ้าหากที่มาของมันหะรอม (เช่น เนื้อหรือไขมันสุกร, สัตว์ที่ไม่ได้เชือดตามหลักการอิสลาม ฯลฯ) วัตถุเจือปนอาหารเหล่านั้นก็หะรอมด้วย ซึ่งนักวิชาการอิสลามที่เห็นด้วยกับทัศนะนี้มีหลายท่าน เช่น เชคมุฮัมมัดซอลิหฺ อัลมุนัจญิด , เชคมุฮัมมัด อิกบาล อัลนัดวียฺ เป็นต้น ซึ่งจะนำรายละเอียดมากล่าวต่อไป อินชาอัลลอฮฺ ...อ่านต่อ...